กระแสน้ำวนเป็นรูปแบบการเคลื่อนที่สากล ที่ก่อตัวเป็นอะตอม ดาวเคราะห์ และกาแล็กซี่ ทำงานในส่วนลึกสุดของใจกลางสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเรียกว่า "หัวใจ"
หัวใจของเราคือกระแสน้ำวนขนาดเล็ก
เรขาคณิตของกระแสน้ำวนในหัวใจ
กระแสน้ำวน เป็นรูปแบบการเคลื่อนที่สากลที่ก่อตัวเป็นอะตอม ดาวเคราะห์ และกาแล็กซี ทํางานภายในหัวใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หัวใจทางกายภาพคือเครื่องสร้างกระแสน้ำวนขนาดเล็ก
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเริ่มต้นชีวิตด้วยของเหลวหยดเล็กๆ และการเคลื่อนที่ของของเหลวใดๆ จะเกิดขึ้นผ่านการกลิ้งในกรวยและกระแสน้ำวนเท่านั้น กล่าวได้ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดก่อตัวขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตของกระแสน้ำวน? ตามที่แพทย์โรคหัวใจรุ่นใหม่กล่าวว่านี่คือรูปร่างของหัวใจมนุษย์อย่างแน่นอน
จากการวิจัยของ Dr. Gerald D. Buckberg และศัลยแพทย์ฝึกหัดจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โครงสร้างของหัวใจเป็นแบบเฮลิคอยด์หรือเกลียวที่มีจุดศูนย์กลางของกระแสน้ำวนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน

โครงสร้างเกลียวของหัวใจ - มุมมองด้านข้าง (a) มุมมองจากจุดยอด (b) ภาพประกอบที่สร้างขึ้นในปี 1660 โดยแพทย์ชาวอังกฤษ Lower แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงยอดของหัวใจซึ่งมีเส้นใยกล้ามเนื้อมาบรรจบกันตามเข็มนาฬิกา และแผ่เส้นใยแบบหมุนเหวี่ยงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ส่วนบนของหัวใจรูปทรงกรวยเป็นช่องทางเป็นหลัก และโครงสร้างรูปทรงกรวยนี้แสดงถึงการทำงานเป็นวัฏจักรของกล้ามเนื้อหัวใจ

รูปแบบฮาร์โมนิกที่เกิดจากกระแสน้ำวนหมุนทวนสวนทางกันสองวง (หมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา) คือ "ตราประทับของผู้สร้าง" ที่ติดอยู่บนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและปรากฏอยู่ในองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต รูปแบบนี้คือเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับสิ่งมีชีวิต รูปแบบของลายนิ้วมือบุคคลก็มีรูปแบบกระแสน้ำวนเหมือนหัวใจ สะท้อนให้เห็นเกลียวก้นหอยสองวงที่ตรงกันข้าม พบได้ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

ซ้าย : ลายนิ้วมือของมนุษย์ ; ด้านขวาเป็นมุมมองของหัวใจจากช่องซ้าย ภาพประกอบโดยศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ Pettigrew ในปี พ.ศ. 2407
ความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะของลวดลายบนนิ้วมือกับแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจนั้น ถูกบันทึกไว้ในสมัยอียิปต์โบราณโดยนักอ่านลายมือบำบัด ซึ่งอ้างว่ายิ่งลายเส้นเกลียวหยิกยุ่งเหยิง และมีข้อบกพร่องในรูปแบบลายนิ้วมือของบุคคลมากเท่าใด คนนั้นก็จะมีโอกาสมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน รูปแบบเกลียวคู่ที่เรียบสม่ำเสมอบ่งบอกสุขภาพของอวัยวะหลัก นี่คือพื้นฐานที่มีเหตุผลของภูมิปัญญาอียิปต์โบราณ โดยรูปแบบกระแสน้ำวนจะถูกทำซ้ำในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งในระดับมหภาคและระดับไมโคร องค์ประกอบเล็กๆ ของเศษส่วนยังสามารถใช้เพื่อตัดสินชิ้นส่วนที่ใหญ่กว่าได้
จุดสูงสุดของหัวใจซึ่งยังคงนิ่งอยู่ในระหว่างการหดตัวนั้น คล้ายคลึงกับ "ตา" ของพายุทอร์นาโด หรือศูนย์กลางของพายุไซโคลน ซึ่งยังคงสงบนิ่งอยู่เสมอ ธรรมชาติใช้หลักการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำวนแบบเดียวกันทุกประการในเกลียวก้นหอยสองเส้น - ตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา - สนามจุดศูนย์กึ่งกลางที่นิ่งไม่เพียงแต่สร้างการก่อตัวของพายุเฮอริเคนเท่านั้น แต่ยังสร้างการก่อตัวของระบบดาวและกาแลคซีด้วย

การก่อตัวของพายุไซโคลน (ภาพซ้าย) และกาแลคซี M74 ถ่ายภาพโดยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลและเผยแพร่โดย NASA (ภาพกลาง) มีพื้นฐานมาจากกลไกเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของเกลียวสองทิศทาง กระบวนการที่เป็นวัฏจักรที่คล้ายกันซึ่งส่งตรงจากสนามจุดศูนย์กลางที่ไม่เคลื่อนไหว แล้ววนกลับมาสู่จุดนั้น ถือเป็นรากฐานการทำงานของหัวใจของเรา ด้านขวาเป็นภาพกายวิภาคของหัวใจมนุษย์จากด้านข้างของจุดยอดด้านบน
ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา จิตสำนึกของมนุษยชาติได้ถูกชักนำไปสู่ความเข้าใจโครงสร้างกระแสน้ำวนของอะตอม ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่รวมถึงนักเวทย์และนักเล่นแร่แปรธาตุอีกหลายคนด้วย
M.D. Edwin Babbitt ผู้ก่อตั้งการบำบัดด้วยสี ในศตวรรษที่ 19 บรรยายถึงโครงสร้างของอะตอม ซึ่งเขารับรู้ผ่านสิ่งที่เรียกว่าความเข้าใจในสัญชาตญาณหรือ "ความรู้โดยตรงทางจิต" :

“เส้นแรงของอะตอมไม่ได้ตั้งอยู่ในวงกลมอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ทั่วไปในธรรมชาติที่ไม่ถูกขัดขวาง เช่นเดียวกับวิถีการเคลื่อนที่ของกระสุนปืน น้ำตก และดาวเคราะห์ ตามแนวหน้าตัดของกรวย อะตอมถูกสร้างขึ้นจากทรงรี หรือในการปรับเปลี่ยนรูปร่างทรงรี" (E. Babbitt "หลักการของแสงและสี", 2421)
ภาพที่คล้ายกันโดยพื้นฐานของโครงสร้างรูปทรงกรวยของอะตอม ได้รับจากผู้หยั่งรู้ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการทางปรัชญาวิทยา Annie Besant :

ส่วนหนึ่งของภาพประกอบจากหนังสือ Occult Chemistry โดย Annie Besant และ Charles Leadbitter, 1908
เป็นสิ่งที่น่าทึ่ง สำหรับภาพที่ถ่ายโดยนักเวทย์มนตร์ทั้งสองแห่งศตวรรษที่ 19 และ 20 นั้นมีความคล้ายคลึงกัน และทั้งสองภาพมีความคล้ายกับโครงสร้างเกลียวของหัวใจมาก
แพทย์โรคหัวใจชาวสเปน Francisco Torrent-Guasp อุทิศเวลาห้าสิบปีของการทำงานหนักเพื่อพิสูจน์แนวคิดเรื่องโครงสร้างหัวใจแบบเฮลิคอยด์ เป็นการศึกษาทางกายวิภาคของเขาที่นํามาใช้เป็นพื้นฐานโดย Gerald Backberg ซึ่งเป็นผู้เปิดทิศทางใหม่ในการผ่าตัดหัวใจเชิงปฏิบัติ)
หากดูการเตรียมกายวิภาคของหัวใจที่ทำโดย Torrent-Guasp จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการก่อตัวของเกลียวสองวงที่วิ่งสวนทางกันออกจากศูนย์กลางของกรวย จากขวาไปซ้ายและจากซ้ายไปขวา จุดประสงค์ของโครงสร้างของหัวใจนี้คือสร้างกระแสน้ำวนตามธรรมชาติ ซึ่งการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศเกิดขึ้นทั้งแบบแรงเหวี่ยงและศูนย์กลาง ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนที่ของกระแสเป็นวัฏจักรหมุนเข้าหากันและกันอย่างต่อเนื่อง ก่อตัวเป็นโทรอยด์รูปทรงเรขาคณิตที่ทำซ้ำตัวเองไม่สิ้นสุด

ซ้าย: การเตรียมทางกายวิภาคของหัวใจที่จัดทำโดย F. Torrent-Guasp แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเกลียวกระแสน้ำวนของอวัยวะนี้ ขวา: การก่อตัวของกระแสน้ำวน เหมือนกับกับพายุทอร์นาโด แพร่ขยายตัวเองโดยการปิดแนวแรงเข้าไปในวงแหวนโทรอยด์
แม้ว่านักกายวิภาคศาสตร์จะศึกษาโครงสร้างของหัวใจมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว แต่พวกเขาไม่เคยไขปริศนาได้ว่า..หัวใจเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด เพราะเขามองว่าอวัยวะนี้เป็นภาชนะปิด ในความเป็นจริง ดังที่ Torrent-Guasp ได้แสดงให้เห็นว่าหัวใจนั้นเป็นริบบิ้นขด แพทย์โรคหัวใจชาวสเปนเปรียบเทียบวิธีการพับริบบิ้นหัวใจกับการบิดเชือก โดยเปรียบเทียบ เกลียวกล้ามเนื้อของหัวใจเคลื่อนไหวและมีชีวิตชีวาในระหว่างการเต้นของหัวใจ สร้างแรงกระตุ้นตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ที่รับผิดชอบในการสูบฉีดการไหลเวียนของเลือด ด้วยการดึงดูดเข้าและขับดันออก

การออกแบบที่น่าทึ่งนี้ ช่วยให้หัวใจหมุนเวียนกระแสเลือดด้วยการสร้างกระแสน้ำวน แทนที่จะเป็นแรงดันธรรมดาอย่างปั๊ม
ระบบหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่ปั๊ม แต่เป็นกระแสน้ำวน
ร่างกายทั้งหมดคือเครื่องจักร และหัวใจก็คือปั๊มอะนาล็อก
หัวใจห้องล่างสามารถฉีดน้ำได้สูงเกือบ 2 เมตร แต่ปริมาณความดันที่ต้องผลักดันเลือดไปตลอดความยาวทั้งหมดหลอดเลือด จะต้องเท่ากับแรงที่เพียงพอต่อการยกน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัม ถึงความสูงหนึ่งกิโลเมตรครึ่ง อวัยวะเล็กๆ ขนาดเท่ากำปั้นไม่สามารถทำงานดังกล่าวได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงเครื่องปั๊มธรรมดาๆก็ตาม นอกจากนี้ เลือดยังมีความหนืดมากกว่าน้ำถึงห้าเท่า และไหลผ่านเส้นเลือดฝอยหลายล้านๆเส้นซึ่งมักจะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เม็ดเลือดเอง
แล้วความลับของการไหลเวียนเลือดผ่านเขาวงกตของหลอดเลือดคืออะไร?
การไหลเวียนของเลือดไม่ใช่แค่การเคลื่อนที่ของของเหลวเท่านั้น แต่ประกอบด้วยแม่น้ำสองสายที่หมุนพันเกลียวรอบกันและกันเหมือนเกลียวคู่ เช่นเดียวกับDNA หรือขดลวดเกลียวเฮลิคอยล์

แผนผังแสดงการไหลของเกลียวสามมิติในหลอดเลือดแดงใหญ่ของมนุษย์
ลักษณะการไหลเวียนเป็นเกลียวของเลือด มีประสิทธิภาพคล้ายการทำงานของขดลวด ควบคุมการเคลื่อนที่ของเลือดไปตามเกลียว แรงหลักที่ผลักดันเลือดไม่ใช่ความดัน แต่เป็นกระแสน้ำวน การเคลื่อนที่ของกระแสน้ำวนผ่านหลอดเลือด นอกจากการเร่งความเร็วแล้ว ยังส่งเสริมการดูดซึมออกซิเจนที่ผนังหลอดเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยในการทำความสะอาดตัวเอง
ความลับอีกประการหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์ก็คือ ในเครือข่ายที่กว้างขวางนี้ยาวถึง 100,000 กิโลเมตร ไม่มีท่อตรงเลยสักเส้นเดียว แต่กลับมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าระบบจ่ายน้ำที่ใช้ปั๊มอย่างเทียบกันไม่ได้ นั่นเป็นเพราะความบิดเบี้ยวคดเคี้ยวของมัน - ต้องขอบคุณทางคดเคี้ยวเหมือนแม่น้ำเคี้ยวคด และ"กระแสน้ำวน"
การเคลื่อนไหวเหมือนกระแสน้ำวนนั้นเป็นสากลในธรรมชาติ แม่น้ำใช้กระแสน้ำทุติยภูมิที่ก่อตัวขึ้นบริเวณโค้งแม่น้ำ เพื่อขับเคลื่อนตนเอง ควบคุมตนเอง และชำระล้างตนเองให้บริสุทธิ์ แม่น้ำที่ยืดตัวเป็นเส้นตรงโดยปราศจากจังหวะที่คดเคี้ยวโค้งงอ แม่น้ำจะตะกอนและตายอย่างรวดเร็ว ผู้ทรงภูมิปัญญาในอดีตเปรียบเทียบการไหลของแม่น้ำกับระบบไหลเวียนโลหิต หากเราจินตนาการถึงสถานการณ์อันน่าเหลือเชื่อ เมื่อหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกายของเราเกิดเป็นเส้นตรงอย่างกะทันหัน ร่างกายจะสูญเสียพลังงานทันที
การโค้งงอของหลอดเลือดก็เหมือนกับแม่น้ำที่คดเคี้ยว ทําให้เกิดการเต้นเป็นจังหวะ เลือดจะผลักดันตัวเอง โดยใช้แรงกระตุ้นตามธรรมชาติ ด้วยจังหวะการเต้นของหัวใจที่หนาขึ้น ทำให้ "การเต้นของหัวใจ" ของตัวอ่อนได้เริ่มต้นขึ้นก่อนที่จะมีการสร้างห้องในหัวใจ
อะไรเกิดขึ้นก่อน - การเต้นเป็นจังหวะหรือหัวใจ?
คำตอบคือ : สนามแม่เหล็กไฟฟ้าปรากฏขึ้นก่อน
สนามโทรอยด์ของหัวใจ
สถาบันคณิตศาสตร์หัวใจแห่งแคลิฟอร์เนียมีการวิจัยเรื่องมีสนามรอบหัวใจอยู่ในรูปแบบโทรอยด์ การเต้นของชีพจรกำหนดจังหวะของกล้ามเนื้อหัวใจ สนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบหัวใจแทรกซึมทุกชั้นเซลล์ และสามารถตรวจจับได้ด้วยอุปการณ์ตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระยะห่างจากร่างกายหลายเมตร
เช่นเดียวกับพายุทอร์นาโดที่สะสมพลังงานมหาศาล ณ จุดหนึ่งผ่านการดูด สนามโทรอยด์ของหัวใจจะสร้างช่องทางดึงพลังงานเข้าสู่ศูนย์กลางของวงแหวน ในกรณีที่มีกระแสน้ำวนหรือกรวย จะเกิดระเบิดและการหดตัวของประจุพลังงานและทำให้เกิดชีวิต พลังงานสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจและอวัยวะอื่นๆ ทั้งหมด จึงถูกดึงเข้ามาโดยการระเบิดผ่านแรงกระแสน้ำวน ที่มีศูนย์กลางเชื่อมต่อกับหัวใจ โทรอยด์ของสนามพลังรอบหัวใจเริ่มเคลื่อนไหว โครงสร้างของหัวใจจะสร้างต้นแบบ toroidal ที่มีพลังของตนเอง

โทรอยด์แม่เหล็กไฟฟ้าของหัวใจดึงพลังงานมาจากไหน?
ทุกสิ่งที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวบนโลกนั้นขับเคลื่อนโดยโทรอยด์แม่เหล็กไฟฟ้าของสนามโลก และในทางกลับกัน ดาวเคราะห์ก็ได้รับพลังงานจากสนามโทรอยด์ของดวงอาทิตย์ และอื่นๆ ไปจนถึงโทรอยด์ของกาแลคซี่ทางช้างเผือก ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้ถึงขนาดของมัน หัวใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดดูดซับพลังชีวิตโดยตรงจากแหล่งเดียว แม้ว่ามนุษยชาติจะมีหัวใจทางกายภาพของตนที่สร้างกระแสน้ำวนตลอดเวลา แต่แหล่งที่มาของพลังก็มีเพียงหนึ่งเดียว และหัวใจที่มีชีวิตบนโลกนี้ก็เต้นต่อไปได้ตราบเท่าที่สนามกำเนิดโทรอยด์ของโลกยังคงเต้นเป็นจังหวะ

หัวใจของเราเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่าแก่นแท้หรือ "กระแสน้ำวนแห่งชีวิต"
เพื่อเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิดชีวิตนี้ ให้วางมือบนหัวใจ..เงียบ ฟัง และสื่อสาร
แหล่งที่มา :: The Rodlin Glossary Book